ชื่อ : ชุมชนโบราณบ้านไพลขลา
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์
ที่ตั้ง
บ้านไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด 15.343953 ลองจิจูด 103.544949
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลดงใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลทุ่งกุลาและตำบลพรหมเทพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองเรือ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ชุมชนไพรขลาตั้งอยู่บนถนนสายอำเภอท่าตูม-อำเภอชุมพลบุรี ระยะทางจากชุมชนไพรขลาไปยังอำเภอชุมพลบุรี 17 กิโลเมตร และไปจังหวัดสุรินทร์ 73 กิโลเมตร โดยมีถนนเส้นอำเภอท่าตูม-อำเภอชุมพลบุรีเป็นถนนเส้นทางหลักในการคมนาคมสู่ภายนอก
ชุมชนไพรขลา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม อยู่ทางทิศใต้ของทุ่งกุลาร้องให้ โดยมีลำน้ำมูลอยู่ทางทิศใต้ ส่วนด้านทิศเหนือเป็นลำพลับพลา
บ้านไพรขลา แต่เดิมเป็นชุมชนโบราณ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบใบสิมมาใหญ่-สิมมาน้อย มีหินศิลาแลงที่ก่อสร้างกู่ ปราสาท เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาตั้งแต่บุคสมัยทวารดี และลพบุรี
พื้นที่ตั้งชุมชน เมื่ออดีตเป็นชุมชนโบราณ และมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปัจจุบันมีการบุกรุกจับจอง และถมที่เพื่อการพัฒนาชุมชน ทำให้เหลือร่องรอยแหล่งน้ำชุมชนโบราณ คือ หนองท่าไทร หนองท่าโพน หนองช้างตาย หนองท่าหัวขัว และหนองหัวนอน ส่วนทรัพยากรป่าไม้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไปใช้ประโยชน์ป่าที่ยู่ ตำบลหนองเรือที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลเป็นหลัก
ชุมชนโบราณบ้านไพรขลามีโบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะสิมมาน้อยและคูน้ำคันดินที่ล้อมรอบชุมชน ซึ่งเป็นร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างชัดเจน ควรค่าแก่การดูแลรักษาเพื่อเป็นเกียรติภูมิของชุมชน
ชุมชนไพรขลาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาตั้งแต่บุคสมัยทวารดี ลพบุรี เพราะมีหลักฐานทางใบราณคดี ที่พบใบสิมมาใหญ่-สิมมาน้อย มีหินศิลาแลงที่ก่อสร้างกู่ ปราสาท มีคูน้ำคันดินเป็นวงล้อมรอบหมู่บ้าน แต่ประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนยุคปัจจุบัน จากคำบอกเล่าได้เริ่มมา ประมาณ 100 กว่าปี โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมร จากบ้านขาม บ้านยางกระจับ บริเวณบ้านไพรขลาเป็นโนนบ้านเก่า มีความอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพมาตั้งจำนวน 7 ครอบกรัว แต่อยู่มาไม่นานมีเสือใหญ่คู่หนึ่งที่มาจากบริเวณสิมมาใหญ่-สิบมาน้อย ออกมาคอยรบกวนสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นประจำ จนเป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้าน จึงอพยพกลับบ้านเดิม และเรียกบริเวณนี้ว่า “เปรยขลา” (เปรย แปลว่า ป่าคงหรือไพร ขลา แปลว่า เสือ) จนกระทั่งเพี้ยนและได้กลายมาเป็น “ไพรขลา” ในปัจจุบัน ต่อมากลุ่มหลวงพิบูลย์ ได้พากรอบครัวและญาติพี่น้องอพยพจากบ้านหูลิง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อที่จะไปบ้านเดิมที่บ้านแสนตาลอก อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เมื่อไปถึง อ.พยัคภูมิพิสัยได้ข่าวว่าบ้านเดิมมีการสู้รบกัน จึงตัดสินใจอพยพลงมาทางทิศใต้และเดินทางเลียบฝั่งน้ำมูลจนมาพบบริเวณบ้านไพรขลาเป็นป่าโนนบ้านเก่ามีความอุคมสมบูรณ์ จึงได้สร้างบ้านแปลงเมืองเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน
ชุมชนบ้านไพรขลา เป็นชุมชนโบราณและเป็นเส้นทางการค้าในอดีต ทำให้มีกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเป็นหลัก ทำให้มีประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าชุมชนไพรขลาจะมีความหลากหลายวัฒนธรรมและยังคงประเพณีฮีตครองแบบอีสานเป็นหลัก ชุมชนบ้านไพรขลามีอาชีพหลัก 2 อย่างที่อยู่คู่กับชุมชนอย่างแรก คือ การทำไร่ ทำนาปลูกข้าวและปลูกต้นยูคาลิปตัส อย่างที่ 2 คือ การค้าขาย ทำธุระกิจเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ในชุมชน