ชื่อ : ชุมชนโบราณบ้านสลักได

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
          ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ที่ตั้ง
          เทศบาลเมืองสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด 14.884330                ลองจิจูด 103.490522

อาณาเขต

ทิศเหนือ             ติดต่อกับ         ตำบลบุฤาษี             และตำบลแสลงพันธ์

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         ตำบลสำโรง             และตำบลราม

ทิศใต้                 ติดต่อกับ         ตำบลเทนมีย์            และตำบลตาอ็อง

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ         ตำบลนอกเมือง

ชุมชนโบราณบ้านสลักได อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

อยู่ในแถบของลมมรสุมเขตร้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และมีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอน

ชุมชนโบราณบ้านสลักได เป็นเมืองหน้าด่านที่เชื่อมต่อกับชุมชนโบราณบ้านแสลงพันธ์ ชุมชนโบราณบ้านแกใหญ่ และชุมชนโบราณบ้านพระปืด เป็นหนึ่งในเมืองหน้าด่านที่สำคัญของเมืองปทายสมัน(สุรินทร์ในปัจจุบัน) ) มีแผนผังชุมชนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนินดินขนาดใหญ่ โดยรอบคูเมือง คันดินล้อมรอบด้วยน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของชุมชนโบราณ คำว่า “สลักได” เป็นภาษาเขมรแปลว่า สักข้อมือ จึงทำให้สันนิษฐานว่า ชุมชนโบราณทั้ง 2 แห่งนี้จะต้องเป็นสถานที่ซึ่งทหารรักษาการเมืองไปตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องความปลอดภัย โดยการสร้างคูน้ำคันน้ำดินไว้เพื่อป้องกันข้าศึก และสัตว์ใหญ่ เป็นปราการด่านสำคัญในการสอดส่อง และเป็นกำแพงชั้นแรกสุดของเมืองประทายสมันต์

พื้นที่ส่วนใหญ่โดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏจากสภาพปัจจุบันเกิดจากการขยายตัวของชุมชน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ การขยายของชุมชนทำให้เกิดการปลูกสร้างบ้านเรือน ขยายออกมาจนรุกล้ำบริเวณคูเมืองเดิมบางส่วนของชุมชนโบราณ ทำให้ร่องรอยทางภูมิศาสตร์ได้รับผลกระทบบางส่วนถูกทับถม บางส่วนถูกทำลาย จึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปรงตามสภาพปัจจุบัน

คูน้ำคันดินล้อมรอบ คูน้ำคันดินชั้นในเป็นรูปวงรี มีคันดินหลายชั้น คูน้ำคันดินชั้นนอก พบเฉพาะด้านทิศตะวันตก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมหักมุม

ชุมชนโบราณสลักไดเป็นชุมชนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ เป็นหนึ่งในเมืองหน้าด่านที่สำคัญ สังเกตจากลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่สูง และมีคูเมืองล้อมรอบหมู่บ้านสลักได ซึ่งเป็นที่ดอนน้ำไม่สามารถท่วมถึงได้ และมีกำแพงดินเก่ารอบหมู่บ้าน

ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และนับถือศาสนาพุทธ หลังฤดูเก็บเกี่ยว ผู้คนบางส่วนเดินทางเข้ามารับจ้างทำงานในตัวเมืองเพื่อหารายได้