ชื่อ : ชุมชนโบราณบ้านยะวึก

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ที่ตั้ง

บ้านยะวึก ตำบลยะวึก อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด 15.353802     ลองจิจูด 103.244017

อาณาเขต

ทิศเหนือ                     ติดต่อกับ         บ้านโนนกลาง อำเภอชุมพลบุรี

ทิศตะวันออก              ติดต่อกับ         บ้านขี้ตุ่น อำเภอชุมพลบุรี

ทิศใต้                          ติดต่อกับ         บ้านยางม่วง อำเภอชุมพลบุรี

ทิศตะวันตก                ติดต่อกับ         บ้านขี้เหล็ก อำเภอชุมพลบุรี

สามารถเดินทางโดยใช้ถนนระหว่างอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สู่จังหวัด มหาสารคาม (ทางหลวงหมายเลข 219) หรือเส้นทางระหว่างอำเภอ ชุมพลบุรี จังหวัด สุรินทร์ สู่จังหวัดมหาสารคาม (ทางหลวงหมายเลข 2081) ทางเข้าบ้านยะวึกมีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร จากถนนใหญ่

มีลักษณะเป็นเนินดินคูน้ำล้อมรอบ มีคูน้ำคันดิน ชั้นเดียว รูปร่างทรงกลมค่อนข้างรี ดู น้ำคันดินตื้นเขินไปมากแล้ว จนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ บางส่วนถูกบุกรุกเพื่อสร้างใช้เป็นที่ สร้างบ้านอาศัย และศาสนสถาน มีหนองน้ำอยู่โดยรอบ คือ หนองอ้ายมนต์ หนองคู หนองกก ใหญ่ และหนองโบสถ์ นอกนั้นเป็นทุ่งนาและไร่

มีลักษณะของหมู่บ้านยะอีกเป็นรูปทรงรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร กว้าง 1.5 กิโลเมตร ยาว 2 กิโลเมตร รวมพื้นที่ของชุมชนโบราณแห่งนี้ประมาณ 200 ไร่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบ มีคันกั้นน้ำ คันดินโบราณ 1 แห่งอยู่ใน สภาพชำรุด โดยมีคูน้ำชั้นเดียวขนาดของคูน้ำกว้างประมาณ 50 เมตร ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีน้ำขังไว้ตลอดปี ส่วนคันดินมีขนาด กว้าง 20 เมตร ยาว ประมาณ 2,000 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ส่วนใหญ่ได้ฟังทลายเหลือเพียงบางส่วน บางส่วนยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เดิมที่ตั้งชุมชนโบราณแห่งนี้มีสภาพเป็นเนินดิน แต่ได้ถูกบุกรุกถากถาง เพื่อใช้สร้างบ้านเรือน และวัดเพื่อเป็นศาสนสถาน โดยรอบ กล่าวคือตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ทำให้สภาพแวดล้อมโดยรอบชุมชนโบราณแห่งนี้มีบ้านเรือน

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบ มีคันกั้นน้ำ คันดินโบราณ 1 แห่งอยู่ใน สภาพชำรุด โดยมีคูน้ำชั้นเดียวขนาดของคูน้ำกว้างประมาณ 50 เมตร ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีน้ำขังไว้ตลอดปี ส่วนคันดินมีขนาด กว้าง 20 เมตร ยาว ประมาณ 2,000 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ส่วนใหญ่ได้ฟังทลายเหลือเพียงบางส่วน บางส่วนยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เดิมที่ตั้งชุมชนโบราณแห่งนี้มีสภาพเป็นเนินดิน แต่ได้ถูกบุกรุกถากถาง เพื่อใช้สร้างบ้านเรือน และวัดเพื่อเป็นศาสนสถาน โดยรอบ กล่าวคือตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ทำให้สภาพแวดล้อมโดยรอบชุมชนโบราณแห่งนี้มีบ้านเรือน

1.คันกั้นน้ำ คันดินโบราณ 1 แห่งอยู่ในสภาพชำรุดสร้างขึ้นในยุคสมัยปลายอยุธยา
2.พบโครงกระดูกเป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านได้ขุดขึ้นมาแล้วนำไปที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนา
3.พบใบเสมา 8 อันอยู่ในสภาพดียังไม่มีการตรวจสอบ
4. พบพระพุทธรูป 1 องค์ในสภาพดี
5. พบเศษภาชนะดินเผาแตกกระจัดกระจายฝังอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก

พบว่ามีเจดีย์เก่าและสร้างเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นเลียนแบบองค์เก่า สภาพเจดีย์เก่าชำรุด บางส่วนเนื่องจากภัยธรรมชาติ สภาพแวดล้อมโบราณสถานแห่งนี้เป็นทุ่งนาล้อมรอบอยู่ริมถนน

ชาวบ้านยะวิกดั้งเดิมเป็นชาวพื้นเมืองพูดภาษาเขมร และมีผู้คนอพยพจากจังหวัดบุรีรัมย์และนครราชสีมา อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตร กรรม ทำไร่ ทำนา รายได้ส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับผลผลิตทางด้านการเกษตร ทำให้มีรายได้ ไม่แน่นอน หลังฤดูเก็บเกี่ยวผู้คนบางส่วนนิยมเดินทางไปทำงานในต่างจังหวัดโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร