ชื่อ : ชุมชนโบราณบ้านตรึม

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ที่ตั้ง

บ้านตรึม ตำบลตรีม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด 15.021638     ลองจิจูด 103.854821

อาณาเขต

ทิศเหนือ                    ติดต่อกับ         ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ทิศตะวันออก             ติดต่อกับ         ตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ทิศใต้                         ติดต่อกับ         ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ทิศตะวันตก                ติดต่อกับ         ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศีขรภูมิ ห่างจากตัวอำเภอศีขรภูมิไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ ประมาณ 47 กิโลเมตร

มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม บางพื้นที่ เป็นที่ดอน มีลำห้วย ลักษณะดินเหนียวปนทราย เหมาะ แก่การเพาะปลูกทาการเกษตรและปศุสัตว์ ลักษณะอากาศร้อน ชื้น คือมีช่วงขึ้นสลับช่วงแล้ง หรือ ฝนตกแตกต่างกับฤดูแล้ง เห็นได้ชัดเจน ไม่มีฝนตกทั้งปี สภาพอากาศทั่วไป แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่  ช่วงฤดูฝนหรือช่วงชื้น และช่วงฤดูแล้ง

ชุมชนโบราณบ้านตรึม อยู่ในตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มีคูน้ำล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองลิม ภายในวัดตรีม มีเนินดินขนาดเล็ก บนเนินดินมีใบเสมาปักอยู่เป็นกลุ่ม โผล่พ้นดิน จำนวน ๑๖ ใบ มีลักษณะเป็นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลง ใบเสมาทุกใบมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน คือ สลักเป็นรูปหม้อน้ำ หรือรูปสถูปอยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ยอดสถูปบรรจบกับส่วนบนของใบเสมาพอดี ที่ขอบของใบเสมาเป็นเส้นตรงโค้งไปตามขอบ ทำให้ดูเหมือนว่าผิวหน้าทั้งสองด้านของใบเสมายื่นออกมา นอกจากนี้ที่บริเวณกลางหมู่บ้านมีเนินดินสูง บนเนินดินพบซากโบราณสถาน ปัจจุบันเหลือเพียงฐานเป็นแนวศิลาแลง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 45 x 46 เมตร บนเนินดินพบในเสมาทำด้วยศิลาแลงจำนวนสองใบ ใบหนึ่งเป็นแผ่นเรียบไม่มีการตกแต่งใด ๆ ส่วนอีกใบสลักเป็นเส้นนูนขึ้นมากลางใบ บนผิวดินและหน้าตัดเนินดินที่ถูกไถออกพบเศษอิฐและเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินอยู่ทั่วไป ตัวโบราณสถานปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน

ชาวกูยบ้านตรึม  ส่วนใหญ่ใช้ภาษากูยหรือภาษาส่วยในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน  มีประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น การแต่งกายของชาวกูย เพศหญิง บ้านตรึมในอดีตหรือผู้ที่สูงวัยในปัจจุบันนิยมแต่งกายสวมเสื้อคอกลมแขนยาวทรงกระบอกสีดำเข้มนุ่งผ้าซิ่นไหม เพศชาย นิยมนุ่งผ้าโสร่งที่ทอขึ้นเอง บ้านตรึมเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่อีกตำบลในอำเภอ  ศีขรภูมิ มีบรรพบุรุษนับถือศาสนาพุทธ คนในชุมชนมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายชอบทำบุญ  รักสงบ เคารพและนับถือผู้อาวุโสกว่า มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชุมชนหลายอย่าง เช่น ประเพณี แกลมอ ประเพณีเซ่นปู่ตาและมีประเพณีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชน

บ้านตรึมเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ ประมาณ  200 กว่าปี   สันนิษฐานว่าอพยพมาจากบ้านสามสี อำเภอปรางกู่   จังหวัดศรีสะเกษ มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม บางพื้นที่เป็นที่ดอน มีลำห้วย เหมาะแก่การเพาะปลูกทำการเกษตรและปศุสัตว ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม บ้านตรึม ชาวกูยเรียกว่า “เนินโคกตรม” โคกตรม เพราะสภาพพื้นที่เดิมเป็นป่าดงต้นครมหนาแน่น แซมด้วยต้นไผ่และต้นขามใหญ่ที่มีอยู่มากมาย ปัจจุบันถูกตัดโค่นทำเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชุมชน

ภายในวัดตรีม มีเนินดินขนาดเล็ก บนเนินดินมีใบเสมาปักอยู่เป็นกลุ่ม โผล่พ้นดิน จำนวน ๑๖ ใบ มีลักษณะเป็นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลงใบเสมาทุกใบมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน คือ สลักเป็นรูปหม้อน้ำ หรือรูปสถูปอยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ปัจจุบันเหลือเพียงฐานเป็นแนวศิลาแลง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 45 x 46 เมตร ปัจจุบันทางวัดได้สร้างอาคารคลุมใบเสมาและเนินดินไว้

ในวัดตรีม มีเนินดินขนาดเล็ก บนเนินดินมีใบเสมาปักอยู่เป็นกลุ่ม โผล่พ้นดิน จำนวน ๑๖ ใบ มีลักษณะเป็นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลง ใบเสมาทุกใบมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน คือ สลักเป็นรูปหม้อน้ำ หรือรูปสถูปอยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ยอดสถูปบรรจบกับส่วนบนของใบเสมาพอดี

ชุมชนบ้านตรึมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อหลังฤดูเก็บเกี่ยว คนในชุมชน ผู้หญิงจะเลี้ยงไหม ทอผ้า หารายได้เสริม ส่วนผู้ชาย