ชื่อ : ชุมชนโบราณบ้านช่างปี่
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์
ที่ตั้ง
บ้านช่างบี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด 14.929167 ลองจิจูด 103.698056
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแตล อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองขวาว อำเภอศีขรภูมิ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเมืองที และตำบลปราสาททอง อำเภอศีขรภูมิ
บ้านช่างปี่ ต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอำเภอศีขรภูมิ ตามทางหลวงแผ่นดิน ๒๒๖ ช่วง ก.ม. ที่ ๒๔ มาตามทางหลวงชนบท สร. ๓๐๒๑ ตามเส้นทางหลวงชนบท บ้านกระโดนค้อ ถึง บ้านช่างปี รวมระยะทางห่างจากอำเภอศีขรภูมิ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ตั้งอยู่ทิศตะวันออกอำเภอเมืองสุรินทร์ ตามทางหลวงแผ่นดิน ๒๒๖ ช่วง ก.ม. ที่ ๑๙ ลงมาตามทางหลวงชนบท แยกบ้านพม่า ถึง บ้านช่างปี รวมระยะทางห่างจากอำเภอเมืองสุรินทร์ ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร
สภาพพื้นที่ทั่วไปของตำบลช่างปี่ เป็นพื้นที่ราบ มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ราบโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตร และใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย กุมภาพันธ์ ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน
ชุมชนโบราณบ้านช่างปี่ ต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ อดีตนั้นเคยเป็นแหล่งชุมชนของเขมรโบราณ จากการสำรวจเท่าที่พบแห่ลงโบราณสถานที่สำคัญใน ชุมชนหมู่บ้านนั้นคือ องค์ปราสาทที่เป็นรูปแบบการสร้างโดยอารยธรรมขอมโบราณ มีนามปราสาทเป็น ที่รู้จักนั้น ช่างปี ซึ่งเป็นภาษาเขมรเรียกว่า ปราสาทเจียงเปีย เป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมโบราณ โดยสันนิษฐานว่าได้ก่อสร้างมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นโบราณสถานที่ – ก่อสร้างรุ่นราวคราวเดียวกันกับปราสาทศีขรภูมิ และปราสาทหินพิมาย ปราสาทช่างปี เป็นอโรคยาศาลา สิ่งก่อสร้างนั้นประกอบด้วยองค์ปราสาทสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย มีมุมทางทิศ ศาลา ตะวันออกเฉียงใต้มีอาคารขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า บรรณาลัย มีกำแพงล้อมรอบ ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏมีสระน้ำพื้นสระปูด้วยศิลาแลง มีน้ำใสสะอาดและเต็มตลอดทั้ง ในความหมายว่า อโรคยาศาลา นั้นหมายถึง สถานอันเป็นที่รักษาพยาบาล รักษาตัวของคนเจ็บป่วย ผู้รักษาจะมีความสามารถด้านการแพทย์แผนโบราณและตัวยามาจากเมืองใหญ่ คือ เมืองนครวัด ใน ราชอาณาจักรกัมพูชา เมืองพิมาย เมืองละโว้ ภายในองค์ปราสาทจะประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร แต่การไว้สำหรับการสักการบูชา และกระทำพิธีกรรมทางศาสนา จะมีรูปเคารพที่สำคัญในการรักษา เยียวยา และโรค นั้นคือพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา รูปเคารพนี้มีความเชื่อว่าเพียงสัมผัสรูปประติมากรของพระองค์ก็จะหายป่วยได้ ปัจจุบันชุมชนโบราณแห่งนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่มีมาแต่โบราณ ชุมชนโบราณแห่งนี้จึงเป็นที่อยู่ของคนในสมัยโบราณมานานนับพันปี
ชุมชนโบราณบ้านช่างปี่ การขยายของชุมชน ทำให้เกิดการปลูกสร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยอยู่เกิดขึ้นอย่างหน่าแน่น อย่างไรก็ตามพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชน มีสภาพเป็นทุ่งนาการเกษตร มีการสร้างวัดและโรงเรียนอยู่ใจกลางชุมชน มีปราสาทบ้านช่างปีและสระน้ำโบราณ อยู่ด้านนอกห่างจากแหล่งชุมชน ประมาณ 500 เมตร
ที่บริเวณปราสาทช่างปี ได้พบประติมากรรมหินทรายรูปเคารพ ที่สำคัญหลายองค์ เช่น พระโพธิสัตว์ไภสัชยคุรุไวฑูรยประภา พระหัตถ์ ทรงวัชระ – กระดิ่ง ส่วนพระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิและ พระศรีจันทรไวโรจนโรหิณีศะ พระหัตถ์ทั้งสองประคองขวดนํ้าหรือกระบอกน้ำไว้บริเวณหน้าอก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร และภาชนะเครื่องดินเผา ฯลฯ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อว่า ก่อนที่จะมีการรักษาผู้เจ็บป่วย จะต้องขอพระบารมีจากประติมากรรมรูปเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ เพื่อความเป็นศิริมงคล
ปราสาทช่างปี่ เป็นอโรคยาศาลาหรือศาสนสถานประจำสถาน พยาบาล ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรเขมร ทรงโปรดให้ สร้างขึ้น จากหลักฐานศิลาจารึกปราสาทตาพรหม ในประเทศกัมพูชา กล่าวถึงพระองค์ทรงให้สร้างอโรคยศาล ๑๐๒ แห่ง ทั่วอาณาจักร ภายใต้พระบารมีของพระพุทธเจ้าผู้ทรงการแพทย์ ตามคติความเชื่อของ พุทธศาสนาลัทธิมหายาน คือ พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา ให้ประชาชนเคารพบูชาเพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ปราสาทช่างปี่ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ ดังนี้
1.ปราสาทประธาน
2.วิหารหรือบรรณาลัย
3.โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้า
4.แนวกำแพง
5.สระน้ำ หรือบาราย
ชุมชนแห่งนี้เรียกว่า หมู่บ้านช่างปี่ เป็นการตั้งชื่อตามชื่อของช่างปั้นหม้อที่มีชื่อเสียง มีชื่อว่า “ ปี่ “ เป็นช่างที่มีฝีมือจนได้รับคำชมเชย ชาวบ้านถือเป็นเกียรติจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านช่างปี แต่ชาวบ้าน บางคนเล่าว่า ชื่อหมู่บ้านมาจากคำว่า “จำเปีย” แปลว่า ต้นจำปี ภาษาถิ่นที่ชาวตำบลช่างปี่ใช้สื่อสาร คือ ภาษาเขมร และลาวประชาชนในตำบลช่างปี่ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม คือ ปลูกข้าว ไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่จะเดินทางเพื่อไปรับจ้างทั่วไปในต่างจังหวัดเพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม คนหนุ่ม สาววัยทำงานเมื่อเรียนจบมักไปหาอาชีพ ในต่างจังหวัดเสียเป็นส่วนใหญ่