Daily Archives: สิงหาคม 30, 2021

วัดป่าอาเจียง

วัดป่าอาเจียง     วัดป่าอาเจียง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เดิมวัดป่าอาเจียงเป็นป่าช้าที่ใช้ฝังศพคนและศพช้าง ในปี พ.ศ. 2516 ผู้ใหญ่เทียม อินทร์สำราญ คุณครูแสวงบุญเหลือ ผู้ใหญ่ดา จงใจงาม คุณครูพุฒ เที่ยงธรรม ได้นำพาชาวบ้านหนองบัวและบ้านตากลางเปิดเส้นทางสายใหม่ใกล้ป่าช้า โดยเป็นทางกฐินก่อน ต่อมาปี พ.ศ. 2535 พระครูปลัดเถรานุวัฒน์ (หลวงพ่อภาวนาพุทโธ) ได้นำพาญาติธรรมสายบุญมาร่วมจัดงานอุปสมบทหมู่แห่ด้วยขบวนช้างที่ป่าช้าแห่งนี้ มีนาคสมัครร่วมโครงการ 200 รูป และเข้าไปปักกลดในป่าช้าแห่งนี้เป็นเวลา  10 วัน ก่อนกลับคืนสู่วัดบ้านเกิดของตน      วันที่ 16 มกราคม 2563 นายอดิเทพ กมลเวชช์ รองผู้ว่าราชการ ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ออกใบประกาศรับรองอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นวัดป่าอาเจียง และในวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศรับรองให้เป็นวัดป่าอาเจียงอย่างเป็นทางการ เหตุที่ให้ชื่อว่า “วัดป่าอาเจียง” เพราะ อาเจียง แปลว่า ช้าง กล่าวคือ สถานที่สร้างวัดแห่งนี้ช้างเป็นผู้ให้ ช้างเป็นเจ้าของวัด และยังหมายถึง สถานที่ล้อมรอบบริเวณสามเหลี่ยมอำเภอ ผู้คนรู้จักเพราะบุญบารมีของช้างอีกด้วย แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดป่าอาเจียง สุสานช้าง ตั้งอยู่ภายในวัดป่าอาเจียง หมู่บ้านช้าง บ้านหนองบัว ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สุสานช้างแห่งนี้คือที่เก็บและรวบรวมกระดูกของช้าง ประมาณ 200 เชือก เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตในตำนานของช้าง ซึ่งช้างทุกตัวที่อยู่ในหมู่บ้านที่ตายไป จะต้องนำมาฝังไว้ที่สุสานแห่งนี้และจะมีการประกอบพิธีทางศาสนาเหมือนคน นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัด ยังมีสิ่งที่จะเรียนรู้ถึงประวัติของช้าง วิถีชีวิตของช้างด้วย ศาลาเอราวัณ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษา เรื่องราวช้างในพระไตรปิฏก และเรื่องราวของช้างใน จังหวัดสุรินทร์ ให้เห็นถึงวัฒนธรรมความผูกพันของชาวกูยคนเลี้ยงช้าง วิถีชีวิตของคนกับช้าง โดยศาลาเอราวัณมีการสร้างประติมากรรมลายนูนปูนปั้นเป็นรูปช้างหลากหลายแบบและหลายขนาด รอบศาลาเอราวัณ ที่มีความสูงกว่า 30 เมตร สวยงามอลังการ วัดป่าอาเจียงยังมีศาลปะกำ เป็นสถานที่ทำพิธีต่างๆ ตามธรรมเนียมชาวกูย ในอดีตก่อนจะออกไปคล้องช้างจะต้องทำพิธี ปัจจุบันนี้การคล้องช้างจากป่าจะไม่มีเหมือนสมัยก่อน แต่ศาลปะกำยังใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น การเซ่นไหว้ การทำนายสภาพความเป็นอยู่ของหมู่บ้าน ฯลฯ [...]

By |2021-09-02T16:24:12+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดป่าอาเจียง

วัดเพชรบุรี

วัดเพชรบุรี         วัดเพชรบุรี เป็นวัดราฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวตำบลทุ่งมน มานานอย่างน้อย 221 กว่าปี ในปีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ได้รับการอนุญาตให้ตั้งวัดอย่างเป็นทางการ  ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านตาปาง  ตำบลทุ่งมน  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  อีกด้วย  จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า  “เมื่อหลวงพ่อเพชร  หลวงพ่อแก้ว  นำพาคณะสงฆ์และญาติโยมมาร่วมสร้างวัดใหม่แล้ว  ประชาชนชาวบ้านทุ่งมนที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสได้พากันอพยพย้ายครัวเรือนมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่ใหม่ตรงบริเวณบ้านตาปาง  บ้านตาดอก  บ้านสมุด  เพื่อจะได้ร่วมกันทำนุบำรุงอุปถัมภ์ค้ำชูวัดแห่งใหม่นี้”  การปกครองท้องที่ของราชการบ้านเมืองนั้น ในปี พ.ศ. 2530  อยู่ในเขตพื้นที่บ้านตาปาง  หมู่ที่  6  ตำบลทุ่งมน  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  ต่อมาเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลทุ่งมนขึ้นมาใหม่   วัดเพชรบุรีจึงถูกเปลี่ยนแปลงจัดให้อยู่ในเขตการปกครองท้องที่บ้านทุ่งมน  หมู่ที่  2  ตำบลทุ่งมน  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  และในปี พ.ศ. 2536 หน่วยงานราชการได้แบ่งแยกเขตการปกครองตำบลทุ่งมนออกเป็น  2  ตำบลคือ  1 ตำบลทุ่งมน  มี  11  หมู่บ้าน 2 ตำบลสมุด  มี  8  หมู่บ้าน   วัดเพชรบุรีจึงเป็นส่วนหนึ่งในเขตการปกครองท้องที่ของบ้านทุ่งมนตะวันออก  บ้านเลขที่ 106  หมู่ที่  1  ตำบลสมุด  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  32140 วัดเพชรบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่  27  พฤศจิกายน 2371 เขตวิสุงคามสีมามีขนาดกว้าง  8  เมตร  ยาว  16  เมตร  เดิมชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดทุ่งมนตะวันออก” โดยตั้งแต่แรกบุกเบิกสร้างวัดนั้นที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินป่าไม้รกทึบ  ภายหลังมีนายกฤษ – นางอี แก้วแบน, นายแก้ว – นางกลัด  ลับแล, นายบูรณ์  ศรีราม, นายมี –นางมิ่ง  จงมีเสร็จ, นายกอง  จงมีเสร็จ [...]

By |2021-09-02T16:25:28+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดเพชรบุรี

วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร

วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร          วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตั้งอยู่ที่ ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 10,856 ไร่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ สลับกับเทือกเขาอุดมไปด้วยพันธ์ไม้ สมุนไพรหายากและสัตว์ป่า เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยว นักแสวงบุญ และผู้ปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะเข้ามาเป็นจำนวนมาก วัดจึงจำเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวก ทั้งด้านการท่องเที่ยว และการปฏิบัติธรรม จึงมีแนวคิดการบริหารจัดการให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาขึ้น โดยพระราชวิสุทธิมุนี​ (เยื้อน​ ขันติพโล)​ เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์​ (ธรรมยุต)​จำพรรษาอยู่ที่วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร​ ได้ทำหน้าที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา อบรมสั่งสอนธรรมะและมีศาสนสถานที่สำคัญไว้รองรับผู้มาปฏิบัติธรรม​ บรรยากาศสถานที่ร่มรื่นเงียบสงบ ร่มเย็น มีทัศนียภาพที่งดงามทำให้เป็นที่นิยม มีนักท่องเที่ยวเเละผู้จิตศรัทธาเดินทางมายัง​วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร​ อย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ.2536 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้ อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ประกาศบริเวณพื้นที่ป่าเป็นเขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามความคิดริเริ่มของพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.กกล.สุรนารี โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร รอยพระพุทธบาท มีการแกะสลักเป็นรอยพระพุทธบาท ขนาดใหญ่ ความยาว 320 เมตร และความกว้าง ช่วงปลายนิ้ว 150 เมตร ช่วงส้นเท้า 70 เซนติเมตร ภายในฝ่าพระบาทแกะสลักเป็นตารางขนาด 8 เซนติเมตร มีรูปสัตว์นานาชนิดอยู่ภายในตาราง อุโมงค์พญานาค มีระยะทางเดินยาวประมาณ 200 เมตร กว้าง 4 เมตรทางเดินมีลักษณะราดชันขึ้นไป นักท่องเที่ยวสามารถเดินลอดอุโมงค์เพื่อเดินขึ้นไปยังด้านบนวัดได้ องค์พระนาคปรกขนาดใหญ่ พระพุทธรูปนาคปรก องค์ใหญ่มีศาลาขนาบสองข้างใกล้หน้าผา เพิงหินตั้งเทินกันบนคอคอดที่ริมหน้าผา เหมือนพระธาตุอินทร์แขวน บนหน้าผามีวิวทิวทัศน์สวยงาม  มีก้อนหินซ้อนเทินกันหมิ่นเหม่รูปทรงแปลกๆ  ข้อมูลอ้างอิง : https://srn.onab.go.th/สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ Surin Provincial Office of Buddhism ,สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ [...]

By |2021-09-02T16:26:09+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร

วัดมงคลคชาราม

วัดมงคลคชาราม (วัดช้างหมอบ)         วัดมงคลคชาราม หรือ วัดช้างมอบ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านช้างหมอบ  หมู่ที่ 14  ตำบลแนงมุด  อำเภอกาบเชิง  จังหวัดสุรินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ มีความสวยงามและยังคงรักษาความเป็นธรรมชาติ ทั้งภูเขาและป่าไม้เหมาะแก่การปฎิบัติธรรม นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ นิยมนมัสการพระพิมลพัฒนาทร หรือหลวงพ่อพวน วรมงฺคโล (วรระมังคะโล เจ้าอาวาสวัดมงคลคชาราม) (วัดช้างมอบ) เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของอีสานใต้ เป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด ใครที่เดือดร้อนมาขอให้ช่วยโดยหลวงพ่อจะสอนให้ยึดหลักธรรมะ ให้เก่งการทำงาน เก่งการประกอบอาชีพอย่างสุจริต ใช้อย่างประหยัดคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง แม้จะมีอายุมากถึง 87 ปีแล้วก็ตาม สังขารเริ่มเจ็บป่วยตามวัย แต่หลวงพ่อพวนก็ยังสามารถปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำทุกวัน ญาติโยม ยังเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดของหลวงพ่อ เดินทางมากราบไหว้ ขอพร และขอบารมีคุ้มครองจากหลวงพ่อ และเป็นที่เชื่อกันว่าหากใครได้รับพร และน้ำมนต์จากหลวงพ่อจะเป็นผู้โชคดี ได้สิ่งที่ปรารถนาดั่งใจ แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดมงคลคชาราม พระปรางค์กุญชรมณีศรีไตรยอดเพชร มีองค์ปรางค์ 3 ยอดอยู่ตรงกลาง และมีปรางค์บริวารโดยรอบทั้ง 8 ทิศ ตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ยๆ มีการปรับปรุงพื้นที่ถมดินเป็นฐานมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 100 เมตร สูงจากพื้นดินปกติ 5 เมตร มีความวิจิตรสวยงาม  ผสมผสานแนวคิดพระธาตุพนมกับนครวัด  โดยหลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบเอง ตั้งอยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา การดำเนินการได้จัดสร้างไปแล้วประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมีหินศิลาแลง และปูนที่วางแบบ เป็นรูปแบบสมัยประยุกต์ ทั้งลวดลายแบบไทย ลายผสมไทย และอาณาจักรขอม รอยพระพุทธบาท มีขนาดกว้าง 33 นิ้ว ยาว 56 นิ้วรอยพระพุทธบาทที่อยู่เหนือถ้ำ​ ซึ่งเป็นถ้ำ​ที่หลวงพ่อพวนนั่งบำเพ็ญเพียรวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่เป็นประจำ ปัจจุบันมีการสร้างมณฑป ครอบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นสถานที่ให้คณะพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้สักการะ ข้อมูลอ้างอิง : https://srn.onab.go.th/สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ Surin Provincial Office of Buddhism ,สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ [...]

By |2021-09-02T16:26:33+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดมงคลคชาราม

วัดพระพุทธบาทพนมดิน

วัดพระพุทธบาทพนมดิน      เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 ได้มีพระมหาเถระกลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วย พระอนุกูลธรรมวิทย์ (หลวงปู่พิมพ์ วัดปทุมทอง) หลวงปู่สัมฤทธิ์ วัดพรมเทพ พระครูสิริธรรมคุต (หลวงปู่ศรี ฐิตธมฺโม วัดจำปาหนองบัว) พระครูวรรณรังษีโสภณ (หลวงปู่เขียน วัดจอมพระ) หลวงพ่อแสง (วัดบ้านโพนดวน) หลวงพ่อเทพ วัดบ้านโพนโก มีความคิดเห็นตรงกันว่าจะสร้างเขาดินแห่งนี้ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมประจำอำเภอท่าตูมจึงได้พากันมาถางป่าเขาดินแห่งนี้ให้เป็นรูปเป็นร่างนับตั้งแต่บัดนั้น      หลวงพ่อพระครูประภัศร์คณารักษ์ (หลวงพ่อมหาจันทร์ ปภสฺสโร วัดโพธิ์พฤกษาราม) ได้ดูแลต่อจากหลวงพ่อบุญศรี และนำพาพระภิกษุสามเณรถางป่าเพื่อสร้างมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง  ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 หลวงพ่อพระครูประภัศร์คณารักษ์ ได้นำพาประชาชนชาวอำเภอท่าตูมสร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง และนำมาประดิษฐานไว้ ณ มณฑป ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆะบูชา จึงมีการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทขึ้น และกลายเป็นประเพณีประจำปีของชาวอำเภอท่าตูมนับแต่นั้นเป็นต้นมา      วันที่ 26 มิถุนายน 2526 หลวงพ่อพระครูประภัศร์คณารักษ์ ได้นิมนต์หลวงปู่ธรรมรังษีมาที่วัดเขาดินแห่งนี้ และได้ตั้งสมญานามว่า “ฤาษีพนมดิน” ซึ่งถือเป็นปฐมเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน รูปที่ 1 มีนามว่า พระมงคลรังษี (หลวงปู่ธรรมรังษี) อันเป็นที่เคารพนับถือสักการะบูชาของศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศ และด้วยเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของหลวงปู่ธรรมรังษี สามารถทำให้วัดพระพุทธบาทพนมดินเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดพระพุทธบาทพนมดิน พระมหาเจดีย์พนมดิน พระพุทธนิมิตศรีมงคล (หลวงพ่อใหญ่) พระพุทธศุภนิมิตศรีมงคล (พระนอน) พระพุทธสุวรรณรัตนคีรีศรีมงคล (หลวงพ่อโต) มณฑป อนุสรณ์สถานหลวงปู่ธรรมรังษี ปราสาทพนมดิน อาศรมปู่ฤาษีตาไฟ ข้อมูลอ้างอิง : https://srn.onab.go.th/สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ Surin Provincial Office of Buddhism ,สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์

By |2021-09-02T16:26:51+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดพระพุทธบาทพนมดิน

วัดกะทมวนาราม

วัดกะทมวนาราม          วัดกะทมวนาราม ตั้งอยู่เลขที่ 210 หมู่ที่ 8 ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ ๓ งาน 50 ตารางวา ปัจจุบันมี พระครูสุนทรปัญญารังสี เป็นเจ้าอาวาส เดิมชื่อ วัดสะอ็อม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2512 โดยมี พระราชวิสุทธิธรรมรังสี (ทิน นามเดิม หลวงปู่เปลี่ยน โอภาโส แต่งตั้งสมณะศักด์เป็น พระครูวนกิจโกศล พระโอภาสธรรมญาณ และ พระราชวิสุทธิธรรมรังสี ) เป็นผู้นำชาวบ้านในการสร้างวัด และตั้งชื่อวัดตามชื่อของหมู่บ้านวัดกะทมวนราม และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2514 เขตวิสุงคามสีมา มีขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 29 เมตร แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดกะทมวนาราม โบสถ์ ( อุโบสถ ) สร้างเมื่อปี พ.ศ.2508 สร้างด้วยศิลา (หิน) แบบโบราณ เนื่องจากในพื้นที่ชนบทจะมีหินอัคนีมาก ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันขนหิน บ้างก็หาบหินจากทุ่งนามาสู่วัด ส่วนทรายนำมาจากคลองลำชีและคลองห้วยเสนง ซึ่งชาวบ้านจะใช้เกวียนขนเป็นระยะทางไกลประมาณ 10 กิโลเมตร อุโบสถหลังนี้หลวงปู่เปลี่ยน โอภาโส ได้ออกแบบและก่อสร้างเอง โดยไม่ได้จ้างช่าง มีชาวบ้านมาช่วยกันสร้างจนเสร็จ ใช้ระยะเวลาในการสร้าง 6 ปี จึงได้ฉลองผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ศาลาการเปรียญ เป็นทรงไทยประยุกต์ (คอนกรีตเสริมเหล็ก) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2538 เพื่อประกอบพิธีกรรมในวันพระ หรือรับกฐินผ้าป่า เป็นต้น ภายในประกอบด้วยผลงานที่โดดเด่นของท่าน โดยปราศจากการเปรียบเทียบนั้นมี 2 ประเภท คือ           1. ผลงานด้านนามธรมมท่านได้ชื่อว่าเป็นนักรังสรรค์ความบริสุทธิ์ด้านพระธรรมวินัยโดยแท้จริง ท่านมีความเพียรพยายามที่ไม่ถดถอยโดยเฉพาะข้อวัตรปฏิบัติ ท่านจะถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น การถือบิณฑบาตเป็นกิจวัตร           2. ผลงานด้านรูปธรรม ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักเผยแผ่ [...]

By |2021-09-02T16:27:13+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดกะทมวนาราม

วัดปทุมธรรมชาติ

วัดปทุมธรรมชาติ     วัดปทุมธรรมชาติ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบ้านแกใหญ่ หรือ วัดแกใหญ่ ตั้งชื่อตามหมู่บ้าน  แต่เดิมวัดตั้งอยู่บนที่เนินสูงในดินธรณีสงฆ์ ( ปัจจุบัน คือ หอประชุมและสถานีอนามัยหลังเก่าของบ้านแกใหญ่ หมู่ที่ 10 ) ด้านทิศตะวันตกของวัดที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ต่อมา พระครูธรรมธัชพิมล ( หลวงปู่ทุน ธฺมมปญโญ ) ท่านได้ย้ายมาสร้างในพื้นที่ปัจจุบัน สาเหตุที่ได้ตั้งชื่อว่า วัดประทุมธรรมชาติ เพราะมีดอกบัวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในสระน้ำ ( ปัจจุบันไม่มีแล้ว ) ซึ่งการขุดใหม่ในครั้งนั้นหน่วยงานราชการในพื้นที่ใช้ทำเป็นปะปาหมู่บ้าน ด้านทิศตะวันออกของอุโบสถในปัจจุบัน แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดปทุมธรรมชาติ อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ตั้งอยู่ภายในวัดประทุมธรรมชาติ บ้านแกใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2460 แล้วเสร็จและมีการผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2462 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 117 ง หน้า 9 วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 4 ไร่ 0 งาน 46 ตารางวา ร่องรอยของโบราณสถานที่เหลืออยู่ เป็นอาคารอุโบสถ หรือที่เรียกว่า “สิม” สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ สร้างโดยการนำของพระครูธรรมธัชพิมล อดีตเจ้าอาวาส ช่างเป็นชาวเขมรที่มาอยู่ที่บ้านแกใหญ่อุโบสถหลังนี้ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน สร้างด้วยไม้ ขนาด 5 ช่วงเสา กว้าง 7.25 เมตร ยาว 10.60 เมตร หลังคาทรงจั่วสองชั้น ชั้นบนลดมุขด้านหน้าและด้านหลังหน้าบันมีชานจั่วแกะสลักลวดลาย ส่วนบนหลังคาประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ หลังคาชั้นลดแบบปั้นหยาคลุมตลอดทั้งสี่ด้าน หน้าต่างและประตูเป็นแบบลูกฟักเหมือนกับที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ตัวอาคารตั้งอยู่บนพื้นดิน มีเสาไม้สี่เหลี่ยม รวม 24 ต้น ด้านหน้าด้านทิศตะวันออกมีประตูทางเข้า 2 บาน [...]

By |2021-09-02T16:27:32+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดปทุมธรรมชาติ

วัดพรหมสุรินทร์

วัดพรหมสุรินทร์       วัดพรหมสุรินทร์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวัดหนึ่งของเมืองสุรินทร์ สร้างขึ้นประมาณ 300-500 ปี มาแล้ว ชื่อเดิม ชื่อวัดทักษิณณรงค์ เป็นวัดที่มีกำแพงเมืองเก่าอยู่ด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และสวยงามอยู่ในอุโบสถเป็นคำบอกเล่าของคนแก่โบราณ  อนึ่ง ในระยะเวลาที่ท่านพระครูบวรวิชาญาณ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์นั้น ท่านได้พิจารณาว่าสถานที่ตั้งวัดยังคับแคบไม่สะดวกและไม่เพียงพอต่อการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านถาวรวัตถุและด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณร จึงได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวซื้อที่ดินเพิ่มจำนวน 3 แปลง และเสียสละที่ดินส่วนตัวจำนวน 1 แปลง นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ผู้เสียสละและได้ทำคุณประโยชน์แก่วัดพรหมสุรินทร์และพุทธศาสนาอย่างมากมาย แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดพรหมสุรินทร์ พระประธานในอุโบสถวัดพรหมสุรินทร์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ลักษณะแบบสมัยโบราณ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเรียบ รอบฐานมีจารึกอักษรขอม 1 บรรทัด พระพักตร์เป็นสี่หลี่ยม มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็กเป็นหนามขนุน พระรัศมีเป็นรูปดอกบัว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณยาว ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวปลายตัดตรง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน พระหัตถ์ขวาวางคว่ำอยู่กึ่งกลางพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ ศิลปวัตถุของชาติ เหตุการณ์สำคัญวัดพรหมสุรินทร์ วันที่ 22 พฤษศจิกายน 2539 เวลา 16.15 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จแทนพระองค์ทรงตัดหวายลูกนิมิต พ.ศ. 2517 จอมพลถนอม  กิตติขจร  นายกรัฐมนตรีเป็นประธานยกช้อฟ้าอุโบสถ วันที่ 30 เมษายน 2512 โดยพลตำรวจตรีวิเชียร  ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธาน วางศิลาฤกษ์อุโบสถ ข้อมูลอ้างอิง : https://srn.onab.go.th/สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ Surin Provincial Office of Buddhism ,สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ [...]

By |2021-09-02T16:27:54+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดพรหมสุรินทร์

วัดกลางสุรินทร์

วัดกลางสุรินทร์      วัดกลางสุรินทร์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อใดผู้ใดเป็นผู้สร้าง เจ้าอาวาสองค์แรกและองค์ต่อ ๆ มามีชื่ออย่างไรบ้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนแต่สถานที่ตั้งวัดนั้นพอมีเหตุผลที่น่าเชื่อดังนี้เมืองสุรินทร์มีกำเนิดมาแต่ครั้งใด นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า หลายร้อยปีมาแล้วมีชื่อเดิมว่า ไผทสมัน ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2306 เชียงปุมซึ่งเดิมอยู่บ้านเมืองที ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระสุรินทร์ภักดี และย้ายมาอยู่ที่ไผทสมัน เมืองนี้จึงได้ชื่อว่าเมืองสุรินทร์ ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองในการอพยพครั้งแรก สันนิษฐานว่า ได้เริ่มกำหนดตั้งสถานที่หลักเมืองขึ้นโดยถือเนื้อที่ส่วนกลางของเมือง กล่าวคือประมาณอาณาเขตภายในกำแพงคูเมืองชั้นใน จากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตก และจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีศูนย์กลางตรงที่ตั้งหลักเมืองในปัจจุบันพอดี ถนนสายนี้เกิดขึ้นในสมัยหลัง ส่วนจวนเจ้าเมืองนั้น ตั้งเยืองจากศาลเจ้าหลักเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตรงบริเวณตลาดเก่า ตรงหน้าวัดกลางปัจจุบัน หรือบริเวณหลังโรงแรมเมมโมเรียลทั้งหมดเป็นบริเวณจวนเจ้าเมืองมาแต่เดิม แต่ปัจจุบันนี้เป็นที่ของเอกชนทั้งหมด วัดกลางเริ่มได้รับการก่อสร้างขึ้นในสมัยนี้ เนื่องจากตั้งในเนื้อที่แนวเดียวกับจวนเจ้าเมือง ด้านทิศตะวันออกขนานกับจวนเจ้าเมือง โดยมีทางขั้นกลางระหว่างจวนเจ้าเมืองกับวัด ปัจจุบันทางสายนี้ คือถนนธนสารซึ่งเป็นทางสายเดียว ที่ตัดกลางเมืองทอดจากกำแพงด้านเหนือจดด้านใต้ และมีถนนสายหลักเมืองผ่ากลางจากตะวันออกสู่ตะวันตก ตัดกันเป็นสี่แยกหลักเมือง ถนนสองสายนี้เป็นถนนดังเดิมของเมืองสุรินทร์การวางผังเมืองของเจ้าเมืองสุรินทร์ เข้าใจว่า ได้เพ่งถึงจุดศูนย์กลางของตัวเมืองและสร้างจวนในบริเวณดังกล่าว ที่แห่งนี้เป็นเนินสูง      มีข้อมูลยืนยันว่า เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรกเป็นผู้สร้างวัดกลางสุรินทร์ โดยมีเหตุผลประกอบดังนี้ หลังจากเชียงปุมได้รับพระราชทานยศและตำแหน่งกลับมาสู่บ้านเดิมที่เมืองที และเห็นว่าที่บ้านเมืองทีเป็นบ้านเล็ก ชัยภูมิไม่เหมาะสม จึงย้ายมาตั้งเมืองที่คูประทาย เมื่อกำหนดที่ตั้งจวนแล้ว ได้ดำเนินการวางผังสร้างวัดเคียงข้างกับเขตจวน ทางทิศตะวันออกการตั้งวัดนี้ น่าจะเป็นการเลียนแบบข้าราชการทหารในสมัยนั้นที่กลับจากการทำศึกสงครามจะมีการสร้างวัด ซึ่งการสร้างวัดนี้แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ก็สร้างมาก ข้าราชบริพารก็สร้างเช่นกัน จนมีคำกล่าวในสมัยนั้นว่า “สร้างวัดให้ลูกเล่น” เจ้าเมืองสุรินทร์ได้สร้างวัดขึ้นเป็นความนิยมตามสมัยนั้น เป็นการเลียนแบบจากส่วนกลางก็ได้ เจ้าเมืองอาจตั้งความประสงค์ว่า เมื่อสร้างเมืองก็สร้างวัดเป็นคู่บ้านคู่เมืองด้วย จึงกำหนดพื้นที่วัดกลางติดกับเขตจวนการปฏิบัติราชการในสมัยนั้น ไม่มีศาลากลางเป็นเอกเทศจะใช้จวนเป็นที่ว่าราชการ เมื่อมีการชุมนุมเรื่องข้าราชการจะใช้บริเวณวัดเป็นที่ชุมนุมเป็นความสะดวกสบาย รวมถึงเป็นที่ประชุมของทางราชการในสมัยนั้น และมีปรากฏซากอิฐเก่าที่ “โคกโพธิ์” คือบริเวณตั้งโรงเรียนราษฎร์บำรุงว่า เคยเป็นที่ตั้งวัดมาแต่เดิม เมื่อพระสุรินทร์มาสร้างเมืองแล้ว มีการวางผังเมืองและกำหนดที่วัด ท่านเจ้าเมืองอาจโยกย้ายวัดนี้มาตั้งเป็นวัดกลางก็ได้ ทั้งนี้โดยเหตุผลตามคติพื้นบ้านถือว่า การสร้างวัดต้องให้อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน จึงจะเป็นมงคล วัดอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ถือว่าเป็นอัปมงคล วัดอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้หมู่บ้านไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย อาจจะเป็นเพราะเหตุที่เจ้าเมืองสร้างจวนอยู่ทางทิศตะวันออกวัด จึงย้ายวัดจากทิศตะวันตกมาตั้งทิศตะวันออก แต่ทั้งนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานอาจจะร้างไปเอง และวัดกลางอาจตั้งขึ้นใหม่ได้ แต่เหตุผลที่ยืนยันมานั้นพอกล่าวได้ว่า วัดกลางเกิดในสมัยพระสุรินทร์คนแรกแน่นอน แหล่งศิลปกรรมที่สำคัญของวัดกลางสุรินทร์ พระธาตุเจดีย์ศรีเมืองช้าง  เป็นพระธาตุที่งดงาม ภายในพระธาตุเจดีย์ศรีเมืองช้างจะมีพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปสำคัญๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นแหล่งศิลปกรรมที่สะท้อนความเป็นสุรินทร์ นอกจากนี้ชั้นบนสุดยังเป็นสถานที่จุดชมวิวที่มองเห็นเมืองสุรินทร์ได้ถึง 360 [...]

By |2021-09-02T16:28:13+07:00สิงหาคม 30th, 2021|Categories: วัด วัดร้าง ศาสนสถาน|ปิดความเห็น บน วัดกลางสุรินทร์

This Is A Custom Widget

This Sliding Bar can be switched on or off in theme options, and can take any widget you throw at it or even fill it with your custom HTML Code. Its perfect for grabbing the attention of your viewers. Choose between 1, 2, 3 or 4 columns, set the background color, widget divider color, activate transparency, a top border or fully disable it on desktop and mobile.

This Is A Custom Widget

This Sliding Bar can be switched on or off in theme options, and can take any widget you throw at it or even fill it with your custom HTML Code. Its perfect for grabbing the attention of your viewers. Choose between 1, 2, 3 or 4 columns, set the background color, widget divider color, activate transparency, a top border or fully disable it on desktop and mobile.